ค่อนข้างขัดใจกับบริการต่างๆ ที่พยายามหาคนเข้ามาเป็นสมาชิก เยอะแยะบริการที่พยายามดึงคนเข้า ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งร้านข้าว บูท วัตสัน ปั๊มน้ำมันต่างๆ
เราต้องโปรโมทบัตรสมาชิกของเรา สิทธิประโยชน์ต่างๆ ดึงคนมาสมัคร และออกบัตรสมาชิกให้
คือ ทำไมไม่กำหนดไปเลยว่าทุกคนเป็นสมาชิกอยู่แล้ว บัตรสมาชิกก็ใช้เป็นบัตรประชาชนไปเลย มันเป็นอะไรที่ง่ายๆ เก็บข้อมูลได้ ไม่ต้องออกบัตรด้วย หรือถ้าบริการอย่างปั๊มน้ำมัน ก็เก็บจากทะเบียนรถไปเลย ทะเบียนนี้เติมเท่านี้บาท พอครบแต้ม ก็ถามเจ้าของรถนิดนึงว่า แต้มครบแล้ว จะแลกคะแนนเลยมั้ย แค่นี้เราก็อยากใช้บริการซ้ำแล้ว หรือร้านค้าก็ ยื่นบัตร ปชช. ได้ส่วนลด เก็บข้อมูลเข้าระบบไปเลย จบ
ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำให้ยาก ต้องโปรโมท ต้องออกบัตร
ปล. ยุค GDPR นี้อาจจะยากนิดนึง เพราะเก็บในทันทีไม่ได้ ก็คงต้องมีติ๊กแบบฟอร์มอะไรกันสักหน่อย แต่มั่นใจมาก ว่ามันทำให้ง่ายกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ได้แน่ๆ
29/5/63
1/5/63
My political perspective
พักนี้กลุ่มการเมืองในเฟซเริ่มคึกคัก ผลจากการโดนกักช่วงโควิด เข้าดูกลุ่มต่างๆ ก็สนุกดี บรรยากาศนึกถึงช่วงก่อนเป็นซึมเศร้ารอบแรก :P
เอาจริงๆ เมื่อก่อนตอนที่เริ่มสนใจการเมือง ผมก็คิดแบบชนชั้นกลาง และชนชั้นนำส่วนหนึ่ง ว่านเราไม่ควรมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เพราะว่าเรามีความรู้ไม่เท่ากัน แต่จะเอาอะไรมาเป็นตัวกำหนด ว่าใครควรมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงได้เท่าไหร่ ในตอนนั้นก็ยังคิดไม่ออก ผมมองไปถึงว่า การออกข้อสอบ เพื่อประเมินว่าใครมีสิทธิ์ลงคะแนนเท่าไหร่
จนกระทั่งเจอคอมเมนต์จากใครก็ไม่รู้ (ต้องเป็นเพื่อนในเฟสแหล่ะ แต่คือจำไม่ได้จริงๆ ว่าใคร เรียกว่าคนไม่รู้จักดีกว่า เพราะจำไม่ได้จริงๆ) ทำให้ผมต้องเปลี่ยนความคิดไปเลย
เพื่อนให้ความเห็นว่า เราควรมีคนละ 1 คะแนนเท่ากัน เพราะเราล้วนเห็นแต่ตัวเท่ากัน มี 1 ชีวิตเท่ากัน รักตัวเอง รักชาติเท่ากัน และที่สำคัญ เราไม่รู้หรอก ว่าเราหรือเขา ฉลาดกว่ากันแค่ไหน
ด้วยคอมเมนต์สั้นๆ ผมเห็นภาพชัดเจนเลยว่า คนเท่ากันคืออะไร มันไม่ใช่ฉลาดเท่ากัน เก่งเท่ากัน หรือมีค่าเท่ากัน แต่มันเป็นเพราะ เราล้วนรักตัวเองเท่ากัน
เอาจริงๆ เมื่อก่อนตอนที่เริ่มสนใจการเมือง ผมก็คิดแบบชนชั้นกลาง และชนชั้นนำส่วนหนึ่ง ว่านเราไม่ควรมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เพราะว่าเรามีความรู้ไม่เท่ากัน แต่จะเอาอะไรมาเป็นตัวกำหนด ว่าใครควรมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงได้เท่าไหร่ ในตอนนั้นก็ยังคิดไม่ออก ผมมองไปถึงว่า การออกข้อสอบ เพื่อประเมินว่าใครมีสิทธิ์ลงคะแนนเท่าไหร่
จนกระทั่งเจอคอมเมนต์จากใครก็ไม่รู้ (ต้องเป็นเพื่อนในเฟสแหล่ะ แต่คือจำไม่ได้จริงๆ ว่าใคร เรียกว่าคนไม่รู้จักดีกว่า เพราะจำไม่ได้จริงๆ) ทำให้ผมต้องเปลี่ยนความคิดไปเลย
เพื่อนให้ความเห็นว่า เราควรมีคนละ 1 คะแนนเท่ากัน เพราะเราล้วนเห็นแต่ตัวเท่ากัน มี 1 ชีวิตเท่ากัน รักตัวเอง รักชาติเท่ากัน และที่สำคัญ เราไม่รู้หรอก ว่าเราหรือเขา ฉลาดกว่ากันแค่ไหน
ด้วยคอมเมนต์สั้นๆ ผมเห็นภาพชัดเจนเลยว่า คนเท่ากันคืออะไร มันไม่ใช่ฉลาดเท่ากัน เก่งเท่ากัน หรือมีค่าเท่ากัน แต่มันเป็นเพราะ เราล้วนรักตัวเองเท่ากัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)