17/4/57

น้ำล้นแก้ว

น้ำล้นแก้วเป็นคำที่เรารู้จักกันดี มักใช้ในการติผู้คนที่ไม่ยอมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ซึ่งเปรียบได้กับแก้วน้ำที่มีน้ำอยู่เต็ม ไม่เหลือที่ว่างให้ใส่น้ำเพิ่มเข้าไปได้อีก เหมือนกันคนที่ไม่ยอมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ

ช่วงที่ผ่านมาของชีวิตผมเจอปัญหานี้อยู่บ่อยครั้ง แต่สิ่งใหม่ที่ผมได้ค้นพบคือ ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่แก้วที่น้ำเต็มแล้วเท่านั้น แต่กลับมีปัญหามากขึ้นตรงที่ดันมีอีกคน พยายามเทน้ำลงไปในแก้วที่น้ำเต็มอยู่แล้ว ทั้งที่ก็รู้อยู่ว่า เทลงไปแล้วน้ำมันจะล้นออกมา และน้ำที่เทลงไป มันไม่ได้เข้าไปในแก้วเลย

โดยปกติ ถ้าผมเป็นคนเทน้ำเมื่อเทไปแล้วเห็นว่าน้ำล้นออกผมก็หยุดเท เพราะรู้ว่ามันไม่มีประโยชน์ และแก้วนั้นไม่ใช่แก้วของเรา เราไม่สามารถเทน้ำออกจากแก้วนั้นได้ มีเพียงเจ้าของแก้วเท่านั้น ที่จะเทน้ำออกได้ เมื่อเจ้าของแก้วยังไม่เทน้ำเก่าออก ก็ไม่มีอะไรที่เราจะสามารถทำได้ นอกเสียจากปล่อยไป

บางที คนที่พยายามเทน้ำลงไปในแก้วที่น้ำมันเต็มแล้วอาจจะเป็นคนที่น้ำล้นแก้วเสียเอง เพราะไม่ยอมเปิดรับความจริงที่อยู่ตรงหน้า ว่า แก้วที่น้ำเต็มแล้วไม่สามารถเทน้ำลงไปได้อีก

4/4/57

Gastroesophageal reflux disease

เมื่อคืนไปหาหมอช่วงหัวค่ำ เหตุคือ รู้สึกแน่นท้องรุนแรง ลมตีขึ้นจนหายใจลำบาก แล้วก็เป็นมาสัปดาห์นิดๆ แล้ว อาการไม่ดีขึ้น ก็เลยตัดสินใจขับรถเข้าเมืองไปรามา (ก่อนหน้านี้ไปคลินิคแถวบ้านมาแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น) จริงๆ แล้วอาการแบบนี้เคยเป็นอยู่ แต่ไม่รนแรงเท่านี้ ครั้งนี้เลยกังวลมาก

ไปถึงหมอ เล่าอาการเรียบร้อย หมอบอกว่าเป็นกรดไหลย้อน ตอนก่อนไปก็เสริชดูแล้ว ก็ได้ความแบบนี้แหล่ะ ก็คือ อาการตรงกับกรดไหลย้อน แต่สันนิษฐานไปว่า น่าจะหนักกว่า พาลคิดไปว่าอาจเป็น อาหารไม่ย่อย ไม่หมอสรุปให้ว่ากรดไหลย้อนนั่นแหล่ะ

อาการของโรคมีอยู่ 3 ระดับ


  • ระดับแรก ผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนบ้างในบางครั้ง เป็นบ้างไม่เป็นบ้าง แล้วก็หายไป ไม่มีผลต่อสุขภาพมากมาย (Gastro-Esophageal Reflux : GER)
  • ระดับสอง ผู้ป่วยจะมีอาการกรดไหลย้อนขึ้นมาเฉพาะที่บริเวณหลอดอาหาร (Gastro-Esophageal Reflux Disease : GERD)
  • ระดับสาม ผู้ป่วยมีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาก จนไหลขึ้นไปถึงกล่องเสียง หรือหลอดลม (Laryngo-Pharyngeal Reflux : LPR)

จากอาการ เป็นมากกว่าระดับ 1 แน่ๆ แต่มันเป็น 2 หรือ 3 อันนี้ไม่รู้เลย แต่ไม่ว่าจะระดับไหน การรักษาก็รักษาแบบเดียวกัน

แนวทางการรักษา

หมอบอก มันไม่ใช่โรคที่หายได้โดยเร็ว เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการแกพฤติกรรม แนวทางก็ไล่ตามนี้

  • กินอาหารอ่อน
  • งด เหล้า เบียร์ กาแฟ ชา
  • งด ของมัน ของทอด ของย่อยยาก ของที่ทำจากนม (บอกว่างดของอร่อยซะก็แล้ว)
  • ให้กินน้อยแต่บ่อยครั้ง คือ อย่ากินให้แน่น แต่อย่าปล่อยให้ท้องว่าง
  • อย่างสุดท้าย ลดน้ำหนัก

ผมเป็นคนที่มีความสุขกับการกินมาก ซึ่งก็คงเป็นงานอดิเรกของคนอ้วนทั่วไป ผมเสพกามด้วยลิ้นมานานมากจนเป็นเหตุให้กระเพาะลำบาก หมดเวลาเสพกามแล้ว ต้องกลับมาดูแลร่างกาย T T แต่ไม่ต้องห่วง เดี๋ยวพอหายผมก็กลับมากินตามเดิมนั่นแหล่ะ (อันที่จริงเรียกว่าน่าห่วงมากกว่า)